Author Topic: โลกไซเบอร์วุ่น!! วิกฤตไอพีแอดเดรสขาดแคลน  (Read 1116 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     นาทีนี้โลกอินเทอร์เน็ตกำลังนับถอยหลังสู่ยุคแห่งการขาดแคลนหมายเลขไอพีแอดเดรสใหม่อย่างแท้จริง ทำให้ไอพีแอดเดรสระบบใหม่อย่าง IPv6 ถูกหยิบยกขึ้นมาจุดกระแสอย่างต่อเนื่อง โดยเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) กูเกิล (Google) รวมถึงผู้ให้บริการออนไลน์รายอื่น ควงแขนนำทีมพัฒนาเว็บไซต์เวอร์ชันใหม่พร้อมกับร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในการอัปเกรดเครือข่ายแล้วในขณะนี้ ก่อนที่ไอพีแอดเดรสระบบเก่าอย่าง IPv4 ชุดสุดท้ายจะถูกส่งออกมาใช้งานภายในสัปดาห์นี้
       
       สิ่งที่โลกต้องเผชิญหากไอพีแอดเดรสระบบเก่าหมดลง คือบริษัทน้อยใหญ่ที่มีเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องเสียเงินงบประมาณมากมายไปกับการอัปเกรดเว็บไซต์เพื่อให้รองรับระบบไอพีแอดเดรสเวอร์ชันใหม่ ซึ่งคาดว่าทิศทางนี้กำลังจะเกิดขึ้นต่อเนื่องนับแต่ปีนี้เป็นต้นไป
       
       ไอพีแอดเดรสหรือ Internet protocol addresses นั้นเป็นชุดตัวเลขที่ใช้ระบุที่อยู่ของเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่นหากผู้ใช้พิมพ์ชื่อเว็บไซต์ www.facebook.com ระบบจะเชื่อมต่อไปยังไอพีแอดเดรส 66.220.149.32 โดยตรง ปัญหาอยู่ที่ระบบไอพีแอดเดรสดั้งเดิมเวอร์ชัน 4 หรือ IPv4 นั้นถูกออกแบบมาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว (ยุคปี 70) เพื่อใช้งานเฉพาะในวงการศึกษาและนักวิจัยเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบเพื่อการใช้งานในวงกว้างและแพร่หลายเช่นทุกวันนี้ ไอพีแอดเดรสในระบบ IPv4 ซึ่งสามารถจัดสรรได้เต็มที่ 4,300 ล้านแอดเดรส จึงกำลังจะหมดลงท่ามกลางการใช้งานไอพีแอดเดรสมหาศาลในทุกวันนี้
       
       โลกไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาแอดเดรสขาดแคลน เพราะก่อนหน้านี้ การเปลี่ยนมาใช้ IPv6 ระบบไอพีแอดเดรสเวอร์ชันใหม่ซึ่งเป็นแนวทางแก้ไขเดียวได้ถูกนำเสนอต่อสื่อมวลชนในวงกว้าง บนหลักการที่ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนระบบหมายเลขโทรศัพท์มาเป็น 10 หลัก เพื่อแก้ปัญหาเลขหมายขาดแคลน โดยยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิล เฟซบุ๊ก ยาฮู (Yahoo) รวมถึงรายอื่นต่างเริ่มกระบวนการทดสอบการเชื่อมต่อแอดเดรสใหม่บน IPv6 แล้ว แต่การทดสอบก็ยังไม่ขยายตัวในวงกว้าง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบนั้นมีแนวโน้มทำให้ธุรกิจสิ้นเปลืองงบประมาณสูง เพราะอุปกรณ์เครือข่ายทั้งเราท์เตอร์และเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรทั้งหลาย ซึ่งทำหน้าที่เข้ารหัสอิเล็กทรอนิกส์นั้นล้วนใช้งานระบบแอดเดรส IPv4 เป็นส่วนมาก
       
       สถานการณ์ขาดแคลนแอดเดรสในระบบ IPv4 ขณะนี้ คือจำนวนแอดเดรสว่างนั้นลดลงจาก 1,000 ล้านเลขหมายในเดือนมิถุนายน ปี 2006 เหลือ 117 ล้านเลขหมายในเดือนธันวาคม ปี 2010 ตามข้อมูลจากหน่วยงาน American Registry for Internet Numbers ซึ่งดูแลการจัดสรรไอพีแอดเดรสในสหรัฐฯ ถือเป็นตัวเลขที่น้อยจนคาดว่าแอดเดรสในระบบดั้งเดิมจะหมดลงก่อนกลางปีนี้แน่นอน
       
       ที่น่าสนใจคือ ประชากรอินเทอร์เน็ตโลกน้อยกว่า 0.25% เท่านั้นที่ใช้ IPv6 ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในขณะนี้ ถือเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเพราะยังไม่มีการตื่นตัวที่จริงจัง เพราะการเปลี่ยนถ่ายสู่ IPv6 นั้นส่งผลมหาศาลในมุมของผู้บริโภค เนื่องจากระบบปฏิบัติการยุคเก่า เราท์เตอร์สำหรับใช้ในบ้าน รวมถึงอุปกรณ์เครือข่ายในบ้านอื่นๆอาจไม่รองรับระบบแอดเดรส IPv6 อนาคตที่ผู้บริโภคทั่วโลกต้องควักกระเป๋าจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
       
       ความแตกต่างระหว่างผู้ใช้ IPv6 และ IPv4 ในขณะนี้อยู่ที่การพิมพ์ยูอาร์แอลเว็บไซต์ เช่นผู้ใช้ IPv6 ที่ต้องการใช้เฟซบุ๊กจะต้องพิมพ์ว่า www.v6.facebook.com แทน โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 99% ที่ยังใช้ไอพีแอดเดรสระบบเก่าจะได้รับข้อความแจ้งผิดพลาดหรือ error message แทน
       
       ขณะนี้ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่างขานรับด้วยการเปิดเผยว่าได้ลงทุนเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านเหรียญสหรัฐในการปรับปรุงโครงข่าย มีเพียงบริษัทจำหน่ายอุปกรณ์เครือข่ายเท่านั้นที่ยิ้มกริ่มเพราะมั่นใจว่าจะได้รับอานิสงส์เต็มที่จากวิกฤตินี้
       
       แม้ความตื่นตัวใน IPv6 ในนาทีนี้จะเพิ่มขึ้น เช่น รัฐบาลสหรัฐฯที่กำหนดให้เว็บไซต์หน่วยงานรัฐต้องใช้งานระบบ IPv6 ภายในปี 2012 หรือการเสนอความช่วยเหลือด้านภาษีเพื่อลดภาระให้ธุรกิจในการเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีสู่ IPv6 แต่กระแส IPv6 ก็ยังไม่ได้รับการตอบสนองเท่าที่ควร จนขณะนี้มีการเสนอให้วันที่ 8 มิถุนายน 2011 เป็นวัน World IPv6 Day เพื่อให้เป็นวันเปิดทดสอบ IPv6 อย่างเต็มรูปแบบ โดยเฟซบุ๊ก กูเกิล และยาฮูจะเข้าร่วมเพื่อรณรงค์ให้ชาวเน็ตทั่วโลกหันมาสนใจ IPv6 อย่างเต็มตัว


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)