Author Topic: ว่านจักจั่น ไขปริศนาเชื้อรากินสมองเป็น ว่านจั๊กจั่น  (Read 2060 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai

<a href="https://www.youtube.com/watch?v=1kxXXS9cL1w" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=1kxXXS9cL1w</a>

ว่านจักจั่น ไขปริศนาเชื้อรากินสมองเป็น ว่านจั๊กจั่น ว่านจักจั่น ไขปริศนาเชื้อรากินสมองเป็น ว่านจั๊กจั่น ว่านจักจั่น ไขปริศนาเชื้อรากินสมองเป็น ว่านจั๊กจั่น


   หลังมีข่าวชาวบ้านหลายพื้นที่แห่กันไปขุดหา "ว่านจักจั่น" ด้วยความเชื่อที่ว่า ใครมีไว้บูชาจะทำให้การค้าขายร่ำรวย และยังมีชาวบ้านบางส่วนนำ "ว่านจักจั่น" มาต้มกิน เพื่อรักษาโรค ทำให้หลายคนสงสัยว่า "ว่านจักจั่น" คืออะไรกันแน่ วันนี้กระปุกจึงนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ "ว่านจักจั่น" มาฝากกันให้คลายสงสัยค่ะ

          ตามคำบอกเล่าของชาวบ้านนั้น เชื่อว่า "ว่านจักจั่น" หรือ "ว่านต่อเงินต่อทอง" เป็นว่านกึ่งพืชกึ่งสัตว์ ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ต้นอยู่บนดิน ส่วนหัวจะโผล่ขึ้นมา มีหลายรูปแบบทั้งคล้ายดอกเห็ดเข็มทอง, ดอกเข็ม, ดอกบัวตูม, แบบเขากวาง และแบบงวงช้าง เมื่อขุดลงไปใต้ดินจะพบรากเกาะกันเป็นกระจุกๆ 2 - 3 ตัว มีขนาดประมาณ 3 - 5 นิ้ว มีลักษณะรูปร่างเหมือนตัวจักจั่นทุกประการ ทั้งหัว ลูกตา ลำตัวที่มีสีขาวและอ่อนนิ่ม รวมทั้งกลิ่นตัว และเสียงร้องที่จะดังขึ้นมาในบริเวณที่มีว่านชนิดนี้ ซึ่งว่ากันว่าหากใครได้ยินเสียงร้องของว่านจักจั่นจะถือว่าโชคดี

          มีคำร่ำลือกันว่า "ว่านจักจั่น" เป็นสิ่งมหัศจรรย์  มักจะโผล่มาเฉพาะหัวเขาเล็กๆ เท่านั้น ซึ่งหาพบได้ยากมาก เพราะมีเทวดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เฝ้ารักษาอยู่ ถ้าไม่ต้องการให้ผู้ใดพบเห็นก็จะไม่มีทางได้พบเจอ เพราะรุกขเทวดาจะบังตาไว้ ส่วนใหญ่มักขึ้นบริเวณภูเขาควายประเทศลาว และเทือกเขาแดนลาว ชายแดนไทย-ลาว ส่วนที่ประเทศไทยสามารถพบได้ที่ภูกระแต จังหวัดเลย และในอีกหลายพื้นที่

ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อรา ไบโอเทค

          นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่า หากใครนำ "ว่านจักจั่น" ไปบูชาจะมีโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น มีเงินมีทอง ได้รับเมตตามหานิยม และยังช่วยให้แคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆ ด้วยความที่เป็นของหายาก จึงทำให้หลายๆ คนต่างเสาะแสวงหา ถ้าใครขุดพบก็จะนำ "ว่านจักจั่น" ที่ขุดได้ไปล้างทำความสะอาดเอาดินออก แล้วแช่ในกาวร้อน เคลือบด้วยแลกเกอร์ เพื่อให้สามารถเก็บไว้ได้นาน ก่อนจะเก็บใส่กรอบ และนำไปทำพิธีปลุกเสกไว้เป็นเครื่องรางบูชา ปัจจุบันมีคนประกาศขายตามอินเทอร์เน็ต ในราคาตั้งแต่ 199 ถึงหลักหมื่นบาทเลยทีเดียว ซึ่งก็เป็นที่สนใจของหลายๆ คน ที่อยากได้ "ว่านจักจั่น" ไว้บูชานั่นเอง

          ทั้งนี้ยังมีหลายคนเชื่อว่า นอกจาก "ว่านจักจั่น" จะช่วยบันดาลโชคลาภให้แล้ว ยังเป็นยาขนานเอกที่จะช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้คนป่วยหายได้ด้วย ทำให้มีหลายคน นำ "ว่านจักจั่น" มาต้มน้ำดื่ม จนมีอาการปวดท้อง เวียนศีรษะ ถูกนำส่งโรงพยาบาลกันหลายราย

          ด้วยเหตุนี้ ทำให้ ดร.สายัณห์ สมฤทธิ์ผล นักวิจัยห้องปฏิบัติการราวิทยา ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ต้องออกมาชี้แจง เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้าน ว่า "ว่านจักจั่น" ที่แท้จริงแล้วเป็นซากจักจั่นระยะตัวอ่อน ที่กำลังไต่ขึ้นมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือพื้นดิน แต่เกิดติดเชื้อราแมลงที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ทำให้จักจั่นตาย โดยเชื้อรานี้ จะแทงเส้นใยเข้าไปเจริญในตัวจักจั่น และดูดน้ำเลี้ยงเป็นอาหาร จนมีโครงสร้างสืบพันธุ์ ทำให้ดูมีลักษณะคล้ายเขาที่บริเวณหัว แต่ไม่ใช่ว่านที่เป็นต้นไม้อย่างที่เข้าใจกัน

          ขณะที่วงจรชีวิตของ "จักจั่น" นั้น เมื่อจักจั่นผสมพันธุ์กันแล้ว จะวางไข่ไว้บนเปลือกไม้ ก่อนร่วงลงสู่พื้นดิน และฝังตัวในระยะตัวอ่อนอยู่ใต้ดินนาน 2 - 17 ปี ทั้งนี้ เมื่อจักจั่นในระยะตัวอ่อนที่กำลังไต่ขึ้นมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือพื้นดิน จะเป็นช่วงระยะการเปลี่ยนแปลงร่างกาย อาจทำให้จักจั่นอ่อนแอ ประกอบกับเป็นช่วงต้นฤดูฝน ที่มีความชื้นสูง จึงทำให้จักจั่นมีโอกาสติดเชื้อราแมลงได้

          ส่วนเชื้อราที่เกิดบนตัวจักจั่นนั้น ยังไม่สามารถจำแนกสายพันธุ์ได้อย่างแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า เป็นราสายพันธุ์ คอร์ไดเซฟ โซโบลิเฟอร์รา (Cordyceps sobolifera) ซึ่งก่อนหน้านี้ ในประเทศไทยเคยมีการสำรวจพบราแมลงบนตัวจักจั่นแล้วหลายชนิด

          และจากข่าวที่ว่า มีชาวบ้านนำว่านจักจั่นที่ขุดได้ มาต้มน้ำดื่ม เพื่อรักษาโรค หรือแม้แต่นำ "ว่านจักจั่น" มาเก็บไว้ใกล้ตัว ในความเป็นจริงอาจก่อให้เกิดอันตรายได้ ทั้งนี้แม้เชื้อราในแมลงจะไม่ก่อโรคในคน แต่คนที่เป็นภูมิแพ้อยู่แล้ว ก็อาจเกิดอาการแพ้ เพราะราบนตัวจักจั่น อาจยังมีชีวิตอยู่ และสร้างสปอร์ได้ ซึ่งการทำความสะอาด ก็ไม่สามารถช่วยได้ทั้งหมด เพราะยังคงมีเชื้อราหลงเหลืออยู่ หรืออาจทำให้เชื้อราชนิดอื่นมาเจริญเติบโตแทน ซึ่งหากเป็นเชื้อราชนิดที่ก่อโรคในคน ก็อาจทำอันตรายได้เช่นกัน

          "การที่ประชาชนเข้าใจผิดว่า ซากจักจั่นติดเชื้อรา เป็นว่านจักจั่นที่เป็นต้นไม้นั้นไม่ผิด แต่ควรใช้วิจารณญาณตามหลักวิทยาศาสตร์ประกอบ เพราะหากนำว่านจักจั่น (ตามที่ชาวบ้านเรียก) มาบูชาไว้ใกล้ตัว หรือวางไว้ในบ้าน ในบริเวณที่มีความชื้น เชื้อราจะสร้างสปอร์และแพร่กระจายไปทั่ว จนเข้าสู่ปอดและเจริญเติบโตในร่างกายคนได้" ดร.สายัณห์ กล่าว

          และนี่ก็คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่อง "ว่านจักจั่น" ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่ทำให้หลายๆ คน เข้าใจคลาดเคลื่อน ทั้งนี้ในความเป็นจริงแล้ว "ว่านจักจั่น" เป็นเพียงจักจั่นที่ติดเชื้อราจนตายแล้วเท่านั้น จึงอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ที่นำ "ว่านจักจั่น" พกติดตัว หรือนำไปรับประทานได้

ที่มา: http://hilight.kapook.com/view/38194


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)