Author Topic: เพิ่มคนซอฟต์แวร์เข้าวงการ ต้องยกระดับการสอน  (Read 859 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

ปัญหาการขาดแรงงานของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เหมือนจะสวนกระแสเศรษฐกิจโลกที่ดิ่งลงเหว ทั้งที่นักศึกษาจบใหม่ๆ มีมากมาย แต่ไม่อาจจะนำดึงมาใช้งานได้ทันที เพราะสิ่งที่เด็กเรียนมาไม่ตรงกับตลาด จึงถึงเวลาที่เด็กต้องได้รู้ในเรื่องที่ใช้จริงๆ...

จากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยของประเทศไทย เนื่องจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโลก และปัญหาการเมืองในประเทศตั้งแต่ปลายปี 2551 จนถึงขณะนี้ ทำให้คาดกันว่าภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จะลดจำนวนคนงาน ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ในปี 2552 จะมีอัตราว่างงานของประเทศไทยจะสูงถึง 2.2-2.6% เมื่อเที่ยบกับแรงงานทั้งหมด หรือมีจำนวนคนว่างงานประมาณ 8.5 แสนคน 1 ล้านคน (รวมกับแรงงานใหม่ที่จบการศึกษาช่วงเดือน มี.ค.) โดยกลุ่มแรงงานที่ได้ผลกระทบมากที่สุด คือ แรงงานจบใหม่ แรงงานนอกระบบ และแรงงานชั่วคราว

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมไอที โดยเฉพาะกลุ่มซอฟต์แวร์คาดกันว่า ภาวะวิกฤตนี้ยังไม่กระทบกับการจ้างงานมากนัก เนื่องจากอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ได้รับประโยชน์จากการที่อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องประหยัดต้นทุนการผลิต และบริษัทซอฟต์แวร์ยักษ์ข้ามชาติ ยังมีการเอาท์ซอร์สงานไอทีออกไปยังผู้ให้บริการภายนอกมากขึ้น อีกทั้งความต้องการบุคลากรด้านไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคยังคงขาดแคลน และเป็นที่ต้องการถึงกับต้องทุ่มเงินเพื่อซื้อตัวไปทำงาน คาดว่าในปี 2552 จะขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีและระบบเครือข่ายถึง 396,000 คน เพิ่มจากช่วงปี 2549 ที่ขาดแคลนอยู่เพียง 210,000 คน

ปัญหาดังกล่าวสอดคล้องกับกับงานศึกษาของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค ที่แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยยังขาดบุคลากรทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่บัณทิตบางส่วนมีความรู้ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน หรือ การเรียนการสอนไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี เมื่อปัญหาเชิงคุณภาพยังคงมีอยู่ ทางผู้ประกอบการมักจะแก้ปัญหาด้วยการอบรมเพิ่มเติม หรือ ใช้เวลาในการสอนงานระยะหนึ่งให้กับพนักงาน ก่อนที่จะมอบหมายงานให้ทำจริงส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ในการพัฒนาบุคลากร หรือการจ้างงาน

จากปัญหาที่กล่าวมา องค์กรธุรกิจ เอกชน จึงมักเลือกผู้ที่มีประสบการณ์ทำงาน มากกว่าการรับบัณฑิตจบใหม่ ดังนั้นเมื่อเร็วๆ นี้ เนคเทค และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) และ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน (สทป.) จึงได้จัดทำ โครงการ "การเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Go to Software Industry)"รุ่นที่ 1 ขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษา ที่จบการศึกษาด้านซอฟต์แวร์ ก่อนออกสู่ตลาดแรงงานจริง แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เพื่อตอบสนองภาคเอชน และผู้ประกอบการ

ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการ เนคเทค อธิบายถึงที่มาของโครงการ ?การเพิ่มขีดความสามารถของนักศึกษาสู่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (Go to Software Industry)? ว่า ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างเนคเทค ภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการวางแผนการผลิตกำลังคนของ มทร. และ สทป. เพราะจากข้อมูลของเนคเทคที่สำรวจมาพบว่า แต่ละปีจะมีนักศึกษาสาขาไอทีจบจาก สทป. และมทร.ประมาณ 10,000 คนต่อปี แต่เมื่อเด็กจบออกมาใหม่ ต้องเสียเวลาอีก 6 เดือนเพื่อปรับตัวเข้ากับงาน

ผอ.เนคเทค อธิบายต่อว่า โครงการนี้เป็นการรับฟังความต้องการของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อเตรียมความพร้อมอาจารย์ ปรับปรุงหลักสูตรการสอน ให้สอดคล้องกับธุรกิจฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และโทรคมนาคม โดยเฉพาะกลุ่มซอฟต์แวร์ที่มีโอกาสเติบโต จากการรับงานเอาซอร์สเขียนซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ อย่างไรตามไม่ได้มุ่งที่จะรับงานจากต่างประเทศ แต่มองไปถึงการก้าวสู่วิศวกรรมซอฟต์แวร์ขั้นสูง ออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ภายในประเทศได้เอง

ด้าน ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ อุปนายก สมาคม ATCI อธิบายว่า หัวข้อที่จะบรรยายจะให้ความสำคัญกับแนวโน้ม และการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่มีต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย รวมถึงเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์ยุคใหม่ มาตรฐานนานาชาติเกณฑ์คุณภาพ และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ จะรู้แค่ภาษา จาวา ดอทเน็ต หรือ พีเอชพี ไม่ได้เพราะเทรนด์การพัฒนาเปลี่ยนไปที่การทำซอฟต์แวร์เชิงบริการ หรือ SOA: Software Oriented Architecture แล้ว ที่ผ่านมาไทยผลิตคนไม่ตรงตลาด แถมยังมีค่าแรงสูง

อุปนายก สมาคม ATCI อธิบายอีกว่า ก่อนหน้านี้เคยเจอผู้บริหาร บ.ซอฟต์แวร์ต่างชาติ บอกว่าจะเข้ามาลงทุน มีงานพัฒนาซอฟต์แวร์มาจ้างคนไทย แต่หาคนทำงานให้ไม่ได้ เพราะคนไทยไม่รู้จักเทคโนโลยีที่เขาใช้ เมื่อมีโครงการนี้เกิดขึ้นจะทำให้ช่องว่างระหว่างการเป็นสถาบันภาครัฐ หรือเอกชนหมดไป เพราะมักจะเห็นว่าสถาบันภาครัฐขาดความคล่องตัวในการปรับตัว เพื่อสร้างการเรียนการสอนใหม่ๆ เหมือนกับสถาบันของเอกชน

ดร.ธนชาติ อธิบายเสริมว่า เมื่อเด็กไทยรู้ว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ต้องการอะไรแล้ว การที่สมาคมต่างๆ และเนคเทคเข้ามาร่วมกันฟูมฟัก ปลูกฝังความรู้กันตั้งแต่เรียนปี 1 น่าจะเป็นผลดีในระยะเริ่มต้นนี้ ส่วนตัวมั่นใจว่าระดับการเขียนโปรแกมภาษาคอมพิวเตอร์เด็กไทยทำได้ แต่การไปถึงขั้นที่ออกแบบซอฟต์แวร์ หรือ กระบวนการพัฒนาไปไม่ค่อยถึงจุดนั้น เนื่องจากหลักสูตรเขียนไว้แค่ขั้นพื้นฐาน ต่างจากในต่างประเทศที่การเรียนพื้นฐานเป็นส่วนหนึ่ง แต่จะเน้นที่การฝึกงาน หรือการเรียนแบบสหกิจที่ต้องลงมือทำงานจริงมากกว่า

นายสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคม ATSI อธิบายว่า แรงงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ถือว่ามีค่าตอบแทนการทำงานสูงกว่าอาชีพอื่นๆ จึงต้องมีการคิดที่จริงจังในการสนับสนุน ที่ไม่ใช่แค่รองรับตลาดในประเทศ แต่ต้องมองไปถึงตลาดต่างประเทศ สิ่งที่เกิดในโครงการนี้จะทำให้สถาบันการศึกษาอื่นๆ หันมามอง เพราะจะเน้นที่การดันให้เด็กเรียนรู้แบบสหกิจศึกษา ไปฝึกงานในองค์กรจริงๆ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ทั้งอุตสาหกรรม ไม่ใช้ฝึก 1 คน 1องค์กร แล้วนั่งเรียนเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดกับซอฟต์แวร์ไปวันๆ ขณะนี้ ซอฟต์แวร์ไทยมีคุณภาพระดับที่คนยอมจ่ายเงินซื้อแล้ว ต้องมีกระบวนการ และการพัฒนาที่เป็นระบบจริงๆ ทั้งนี้เด็กที่เข้ามาร่วมโครงการนี้ ต่อไปจะได้รับการแนะนำไปยังบริษัทซอฟต์แวร์สมาชิกของสมาคม ATSI ที่มีกว่า 250 บริษัทได้รู้จัก เพราะถือว่าเป็นนักศึกษาที่ได้รับการบ่มเพาะมาแล้วใช้งานได้

ส่วน ผศ.ดร.ปานเพชร ชินินทร รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ให้ความเห็นในฐานะของประธานกลุ่ม มทร. ทั้งหมด และประธานคณะทำงานความร่วมมือฯ การพัฒนากำลังคนฯ ถึงภาพรวมประโยชน์ที่จะได้รับว่า การขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย เป็นสิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องทางด้านการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตบุคลากรจะเป็นจะต้องร่วมมือ และเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น กลุ่ม มทร.และ สทป.ที่เป็นสถาบันการศึกษาที่มีส่วนสำคัญ ในการผลิตบุคลากรออกสู่ตลาดแรงงานหน่วยงานหนึ่ง

รองอธิการบดี มทร.ธัญญบุรี อธิบายด้วยว่า ถึงเวลาแล้วที่สถาบันการศึกษา และอาจารย์ผู้สอนต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง ตลอดจนปรับตัวเพื่อรองรับการผลิตกำลังคน ให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมตามไปด้วย ส่วนตัวถ้าเป็นไปได้ อยากให้อาจารย์ผู้สอนได้เข้าไปลองทำงานกับบริษัทซอฟต์แวร์สักระยะหนึ่ง เพื่อเรียนรู้การทำงาน จะได้กลับมาสอนนักศึกษาให้ตรงจุด เมื่อเด็กจบออกไปจะได้ตรงกับความต้องการ เพราะอาจารย์ย่อมสอนได้แค่ขั้นพื้นฐาน แต่คนที่ใช้งานจริงๆ คือ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์

ฟังดูจากที่ผู้รู้ที่คร่ำหวอดในวงการซอฟต์แวร์ และอาจารย์ในสถาบันการศึกษา รวมถึงทางเนคเทคแล้ว ก็มามองถึงความจริงที่เกิดขึ้นกับระบบการศึกษาของเด็กไทย ในการเรียนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที ที่หลายๆ ปีที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาแทบทุกแห่ง ต่างเปิดคณะ หรือสาขาด้านไอซีทีกันราวดอกเห็ด และบัณฑิตที่จบออกมาก็มีมากมายหลายหมื่นคน แต่สิ่งที่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ตอบมา คือ คนไม่เพียงพอ หรือ ไม่สามารถใช้งานได้

ความจริงขณะนี้ คือ นักศึกษาเรียนในสิ่งที่ไม่ได้ใช้ บางคนเขียนโปรแกรมได้ แต่ออกแบบโครสร้างการทำงานไม่เป็น เหมือนกับที่ทั่วโลกต้องการซอฟต์แวร์ระดับที่ที่สร้างตึกระฟ้า แต่สอนเด็กไทยให้ทำซอฟต์แวร์ได้แค่ตึกแถว 4 ชั้น คนที่เป็นโปรแกรมเมอร์เก่งๆ ไม่ได้เรียนวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ แล้วคนที่เรียวิศวคอมพิวเตอร์จบไปทำงานไม่ตรงสาย กลายเป็นเสียทรัพยากรบุคคลที่เปล่าประโยชน์ พร้อมกับคำถามคาใจ คือ "เรียนจบแล้วไปทำอะไร"...


จุลดิส รัตนคำแปง
itdigest@thairath.co.th


ที่มา: thairath.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)