Author Topic: รู้เท่าทัน แพกเกจโมบายอินเทอร์เน็ต  (Read 946 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


     กระแสที่ฮิตฮอตสุดๆ ของคนไทยหัวใจดิจิตอลตอนนี้ หนีไม่พ้น อุปกรณ์อะไรก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ มีตั้งแต่สมาร์ทโฟนที่นิยมใช้กันมากสำหรับหนุ่มสาวช่างเจรจาอย่างบีบี หรือจะเป็นคนที่ชอบเอนเตอร์เทนอย่างไอโฟน ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์นิสต์ที่ชอบโลกโมบิลิตี้ ก็จะต้องจับจองแอร์การ์ดเป็นอาวุธคู่กาย โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เสพข้อมูลบนโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก
       
       'ยูทูป ได้พลิกโฉมหน้าการบริโภคคอนเทนต์ที่เป็นเท็กซ์เบสบนอินเทอร์เน็ตไปอีกสเต็ปหนึ่ง' ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น เล่าถึงปรากฎการณ์บริโภคคอนเทนต์บนอินเทอร์เน็ตให้ฟัง
       
       สอดคล้องกับ ปรัธนา ลีลพนัง ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานบริการเสริม บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่ระบุว่าอัตราเติบโตของโมบายล์อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ทั้งที่เชื่อมต่อโดยตรงผ่านมือถือและดีไวซ์ต่างๆ อาทิ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และส่วนที่เชื่อมต่อผ่านโน้ตบุ๊กอย่างแอร์การ์ด
       
       จึงไม่ต้องแปลกใจที่จะเห็นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือพากันแข่งออกแพกเกจดาต้าในรูปแบบต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้บริโภคในแต่ละเซกเมนต์ตามดีไวซ์ มีตั้งแต่แพกเกจเสริม ไล่ไปจนถึงแพกเกจพิเศษสำหรับสมาร์ทโฟนแต่ละยี่ห้อ คำถามที่เกิดขึ้นตามมาว่า จะเลือกใช้แพกเกจดาต้าแบบใดดีถึงจะเหมาะกับกำลังทรัพย์ และไลฟ์สไตล์
       
       ตัวแปรสำคัญที่จะช่วยตอบโจทย์ว่า จะเลือกใช้แพกเกจดาต้าแบบไหนดีนั้น เริ่มจากศึกษาความพร้อมของโครงข่ายสื่อสารข้อมูลของผู้ให้บริการที่จะรองรับกับแบนด์วิธของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมีมากน้อยเพียงใด
       
       เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลบนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ GSMในไทยมีให้บริการ 3 ราย คือเอไอเอส ดีแทค และ ทรูมูฟ ซึ่งทั้ง 3 ค่ายต่างพัฒนาเทคโนโลยีโครงข่ายของตนขึ้นมาเป็นระดับ 2.75 G ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่เรียกว่า General Package Radio Service (GPRS) มีความเร็วส่งข้อมูลอยู่ประมาณ 115 กิโลบิตต่อวินาที กับ Enhanced Data Rate for Global Evolution (EDGE) มีความเร็วส่งข้อมูลประมาณ 220 กิโลบิตต่อวินาที
       และเพื่อรองรับกับแนวโน้มการเติบโตของสมาร์ทโฟนที่จะทำให้ความต้องการแบนด์วิธบนโครงข่ายสื่อสารข้อมูลเพิ่มขึ้น
       
       เอไอเอสเลือกที่จะลงทุนขยายประสิทธิภาพ EDGE ที่มีอยู่ให้ขึ้นเป็น EDGE+ (EDGE Plus) เพื่อให้สามารถใช้งานแบบมัลติทาสกิ้ง หรือใช้งานได้หลายอย่างพร้อมๆ กัน เช่นใช้งานทั้งอินเทอร์เน็ตและบริการทางด้านเสียงได้ โดยมีความเร็วในการรับและส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใกล้เคียงกันประมาณ 271 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงของการปรับปรุงเครือข่าย ตามแผนเอไอเอสคาดว่าจะสามารถรปรับโครงข่ายให้รองรับ EDGE+ ภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่ดีแทคก็เลือกที่จะขยายช่องสัญญาณ EDGให้เพิ่มขึ้นโดยจะใช้เม็ดเงินลงทุนจนถึงสิ้นปีที่ 1 พันล้านบาท
       
       ขณะที่กำลังเกิดสุญญากาศ 3G ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะมีความเร็วสูงสุด 7.2 เมกะบิตต่อวินาทีภายใต้เทคโนโลยีที่เรียกว่า High-Speed Downlink Packet Access (HSDPA) มีความเร็วของการสื่อสารสูงกว่า EDGE ถึง 36 เท่า หรือเร็วกว่า GPRSถึง 100 เท่า ผู้ให้บริการทั้ง 3 ค่ายมีเพียงเอไอเอสที่สามารถคิดค่าบริการ 3G บนความถี่ 900 MHz เดิมในขณะที่ดีแทคและทรูมูฟทำได้แค่ทดลองบริการ HSPA 3G บนความถี่ 850 MHz
       
       เอไอเอสเปิดให้บริการโครงข่าย 3G ที่เชียงใหม่, ชลบุรี และหัวหิน ส่วนในกรุงเทพฯ มีให้บริการแถวสยามพารากอนกับที่เซ็นทรัลเวิลด์ ส่วนดีแทคมีการปูพรมติดตั้งสถานีฐานในพื้นที่กรุงเทพฯ ครอบคลุมพื้นที่สยามสแควร์ อโศก สามย่าน ราชเทวี ประตูน้ำ โดยดีแทคเปิดให้ทดลองให้ลูกค้าจำนวนหนึ่งทดลองใช้ฟรี แต่ยังไม่ได้เปิดให้ผู้ใช้บริการระบบ 2Gได้ทดลองใช้บริการแต่ประการใด
       
       ส่วนโครงข่าย 3G ของทรูมูฟมีสถานีฐานมากที่สุดตอนนี้ คือ มีถึง 600 สถานีฐาน ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ จังหวัดชลบุรี หัวหิน เชียงใหม่ มีความเร็วในการรับส่งข้อมูล 7.2 เมกะบิตต่อวินาที ทำให้ทรูมูฟกลายเป็นผู้ให้บริการมือถือที่มีโครงข่ายสื่อสารข้อมูลได้เปรียบกว่าเอไอเอส ดีแทคอยู่หลายขุม
       
       สิ่งที่ทำให้โครงข่ายโทรศัพท์มือถือของทรูมูฟแตกต่างจากโครงข่ายของเอไอเอสและดีแทคไปอีกขั้นหนึ่ง อยู่ตรงที่การคอนเวอร์เจนซ์โครงข่ายสื่อสารข้อมูลไร้สาย 'ไวไฟ' ของกลุ่มทรู ที่มีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลอย่างต่ำ 1 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีจุดฮอตสปอตกระจายตัวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงหัวเมืองใหญ่ๆ ทั่วประเทศกว่า 18,000 จุดทำให้ทรูมูฟกลายเป็นโครงข่ายเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่ครบเครื่องมากที่สุด
       
       จากความพร้อมของโครงข่ายดังกล่าว ทำให้ ทรูมูฟเป็นโครงข่ายที่มีเหมาะสมกับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนยี่ห้อดังอย่าง ไอโฟน โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ทำให้ไอโฟนของทรูมูฟสามารถเข้าถึงข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตได้รวดเร็วกว่าใคร โดยตัวเครื่องไอโฟนจะดึงสัญญาณโครงข่ายที่แรงที่สุดมาใช้งานอัตโนมัติ แถมแพกเกจราคาก็ไม่ได้ต่างจากเอไอเอส หรือดีแทคมากนัก
       
       ส่วนแพกเกจสมาร์ทโฟน 'แบล็กเบอรี่' ความเร็วของการใช้เครือข่ายไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากแบล็กเบอรี่ใช้แบนด์วิธในการใช้ข้อมูลไม่มาก โดยเฉพาะ 'บีบีเอ็ม' เป็นการส่งเท็กซ์ หรือรูปภาพที่ส่งก็มีขนาดไม่ใหญ่มาก ปัจจัยสำคัญในการเลือกแพกเกจของค่ายใดอยู่ตรงที่ พื้นที่บริการของเครือข่ายเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้ใช้มีพฤติกรรมส่งข้อมูลเล็กๆ ต่อเนื่องทุกที่ทุกเวลา ถ้าเลือกแพกเกจที่เก็บตามจำนวนข้อมูลดาวน์โหลดเป็นเมกะบิตคุ้มค่ากว่าคิดเป็นนาที ซึ่งแพกเกจของเอไอเอสหรือดีแทคน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดี
       
       ส่วนแพกเกจดาต้าสำหรับผู้ใช้แอร์การ์ด อาจเริ่มจากเน็ตซิมที่เน้นใช้งานดาต้าอย่างเดียว ทั้งนี้ควรเลือกแพกเกจตามพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต ควบคู่กับ พื้นที่ที่ใช้งานบ่อยๆ ถ้านิยมดาวน์โหลดโน่นนั้นนี่จำนวนมากๆ ควรเลือกแพกเกจแบบใช้งานไม่จำกัดน่าจะคุ้มค่าที่สุด แต่ถ้าเป็นคนใช้งานเช็กเมล์ไม่มาก เข้าเว็บต่างๆ ไม่นิยมโหลดข้อมูล ซื้อแพกเกจดาต้า 100-200 เมกะบิตน่าจะเอาอยู่
       
       สถิติที่รวบรวมจากผู้ให้บริการมือถือระบุว่า คนใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปมักจะใช้ข้อมูล 100-200 เมกะบิตต่อเดือน ส่วนวิธีคิดเงินเป็นนาทีนั้น ไม่เหมาะกับพื้นที่ให้ความเร็วแค่ GPRS ซึ่งค่อนข้างช้า หนึ่งนาทีอาจจะโหลดข้อมูลไม่ได้มาก ยิ่งเป็นพื้นที่มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างหนาแน่น (วอยซ์) ทำใจได้เลยว่า ระบบจะลดความเร็ว GPRSหรือ EDGE ลงเพื่อให้ผู้ใช้บริการทางด้านเสียงก่อนแบบอัตโนมัติ ส่วนแพกเกจนั้นมีบริการเตือนกรณีใช้งานเกินก็จะทำให้สามารถบริหารการใช้งานได้ตรงตามงบ ที่สำคัญควรดูอัตราค่าบริการส่วนเกินว่า เป็นเท่าไรด้วยจะได้งบไม่บายปลาย
       
       เทคนิคการเลือกแพกเกจดาต้านี้น่าจะพอเป็นไอเดียถึงวิธีเลือกแพกเกจในตลาดที่มีเยอะมากจนตัดสินใจไม่ถูก


ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)