Author Topic: "ซิมการ์ด" ไม่หยุดแค่มือถือ  (Read 998 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46027
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai


      กลุ่มโอเปอเรเตอร์ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สายรายใหญ่ของโลกประกาศแผนส่งออกซิมการ์ดไปสู่อุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือ แจ้งเกิดในอุปกรณ์พกพา เช่นเนวิเกเตอร์นำทาง เครื่องเล่นเพลงพกพา เครื่องเล่นเกม และนานาอุปกรณ์เคลื่อนที่ภายในปี 2012 หวังฝังซิมการ์ดลงในอุปกรณ์โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องยุ่งยากหาซื้อซิมเพื่อต่ออินเทอร์เน็ตกับโอเปอเรเตอร์ แถมเลือกใช้บริการของโอเปอเรเตอร์รายใดก็ได้เมื่อต้องการใช้งาน
       
       กลุ่มโอเปอเรเตอร์เจ้าของแผนขยายอาณานิคมซิมการ์ดนี้คือสมาคม GSM Association โดยรายงานระบุว่าสมาชิกสมาคมได้เริ่มศึกษาการฝังซิมการ์ดลงในอุปกรณ์พกพาอื่นๆ ที่ไม่ใช่โทรศัพท์มือถือแล้ว เพื่อให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไร้สายได้ยืดหยุ่นกว่าเดิม
       
       ซิมการ์ด (SIM card) หรือ subscriber identity module คือชิปขนาดเล็กที่ทำให้โทรศัพท์มือถือสามารถระบุตัวตนได้บนเครือข่ายไร้สาย GSM ในอดีตเทคโนโลยีซิมการ์ดมีบทบาทเฉพาะวงการโทรศัพท์ แต่ในยุคแห่งการสื่อสาร 3G และ LTE ซิมการ์ดได้ถูกใช้ในการเพื่อการส่งถ่ายข้อมูลอย่างต่อเนื่อง เกิดเป็นอินเทอร์เน็ตซิมหรือซิมการ์ดที่ออกแบบมาสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในอุปกรณ์พกพา ทั้งหมดนี้ถือเป็นสัญญาณเติบโตของอิทธิพล GSM นอกจากวงการการสื่อสารด้วยเสียง
       
       รายงานย้ำว่าการฝังซิมการ์ดลงในอุปกรณ์จะมีลักษณะต่างไปจากปกติ เพราะจะไม่สามารถถอดเข้าออกได้เหมือนซิมการ์ดในโทรศัพท์หรือในคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตเช่น iPad, Samsung Galaxy Tab และนานาอุปกรณ์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตซิมในการเชื่อมต่อ โดยซิมการ์ดใหม่ที่จะฝังลงไปในตัวเครื่องจะทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้โอเปอเรเตอร์หรือผู้ให้บริการเครือข่ายรายใดเมื่อใดก็ได้ตามต้องการ โดยผู้ใช้ไม่ต้องเดือดร้อนติดต่อกับศูนย์บริการเครือข่ายเพื่อการซื้ออินเทอร์เน็ตซิมการ์ดอย่างที่เคยเป็นมาตลอด
       
       แรงบันดาลใจของแนวคิดนี้คือความสำคัญของอินเทอร์เน็ตในอุปกรณ์พกพา เพราะอุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้จากการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตไร้สาย เช่น ผู้ใช้กล้องดิจิตอลจะสามารถอัปโหลดไฟล์ภาพความจุสูงได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อใดๆ หรือผู้ใช้เครื่องเล่นเพลงพกพาที่จะสามารถดาวน์โหลดเพลงหรือทีวีโชว์ความละเอียดสูงได้ไม่ต่างจากโทรศัพท์สมาร์ทโฟน แต่เครือข่ายไร้สายที่ใช้กันแพร่หลายในขณะนี้อย่าง Wi-Fi กลับไม่ถูกใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเนื่องจากสิ้นเปลืองพลังงาน ขณะที่การเพิ่มความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่ายไร้สาย ก็ทำให้ต้นทุนการใช้งานอุปกรณ์เพิ่มขึ้น
       
       GSMA มองว่าอนาคตของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์พกพาเหล่านี้คือการติดซิมการ์ดลงในอุปกรณ์ แต่พฤติกรรมผู้บริโภคส่วนใหญ่มักไม่พอใจกับการถูกบังคับให้ใช้บริการจากโอเปอเรเตอร์รายเดียวตลอด จึงทำให้ GSMA ออกแบบให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานโอเปอเรเตอร์ได้ในภายหลัง เนื่องจากมีโอกาสน้อยมากที่ผู้บริโภคจะซื้อกล้องดิจิตอลที่เชื่อมต่อกับโอเปอเรเตอร์รายใดรายหนึ่งตลอดไป
       
       ร็อบ คอนเวย์ (Rob Conway) ประธาน GSMA ให้ความเห็นว่าวิธีการนี้จะสามารถเพิ่มรายได้ให้โอเปอเรเตอร์อีกทางหนึ่ง และนอกจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต วิธีการนี้จะทำให้อุปกรณ์พกพาสามารถรองรับการใช้งานเทคโนโลยีอื่นๆ ได้อีก หนึ่งในนั้นคือเทคโนโลยีเพื่อการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ near-field communication (NFC) ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ไม่มีโทรศัพท์มือถือเช่นเด็กหรือผู้สูงอายุ สามารถวางเครื่องเล่นเกมหรือเครื่องเล่นเพลงพกพาของตัวเองลงบริเวณเครื่องอ่าน เพื่อชำระเงินค่ารถไฟหรือค่าน้ำอัดลมจากตู้จำหน่ายได้ในอนาคต
       
       โอเปอเรเตอร์ที่ถูกระบุว่ากำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นระบบซิมการ์ดฝังตัวมีทั้งสัญชาติสหรัฐฯ จีน เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลี ญี่ปุ่น และอิตาลี ได้แก่ AT&T, China Mobile, Deutsche Telekom, France Telecom Orange, KT, NTT Docomo, SK Telecom, Telecom Italia, Telefonica, Verizon Wireless และ Vodafone รายงานระบุว่าทั้งหมดกำลังประสานงานกับผู้ผลิตซิมการ์ดของตัวเอง และมีแผนที่จะวิเคราะห์ความต้องการของตลาดร่วมกันในปลายเดือนมกราคม ปีหน้า

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Related Topics

  Subject / Started by Replies Last post
0 Replies
6492 Views
Last post February 14, 2009, 12:00:18 AM
by Webmaster
0 Replies
5233 Views
Last post March 03, 2009, 06:05:12 PM
by Reporter
0 Replies
4268 Views
Last post May 03, 2009, 05:52:53 PM
by IT
0 Replies
3044 Views
Last post August 28, 2009, 09:43:46 AM
by IT
0 Replies
5833 Views
Last post June 10, 2010, 02:08:06 PM
by Nick
0 Replies
3819 Views
Last post July 16, 2010, 10:18:47 PM
by Nick
0 Replies
2698 Views
Last post August 27, 2010, 04:28:08 PM
by Nick
0 Replies
5294 Views
Last post October 21, 2010, 05:59:35 PM
by Nick
0 Replies
4438 Views
Last post October 21, 2010, 10:23:15 PM
by Nick
0 Replies
6832 Views
Last post October 23, 2010, 12:51:34 PM
by Nick