Author Topic: 18 เดือน ระบบคลาวด์ในเอเชีย-แปซิฟิกโต 83%  (Read 929 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Nick

  • Administrator
  • Platinum Member
  • *
  • Posts: 46028
  • Karma: +1000/-0
  • Gender: Male
  • NickCS
    • http://www.facebook.com/nickcomputerservices
    • http://www.twitter.com/nickcomputer
    • Computer Chiangmai



      วีเอ็มแวร์เผยผลการสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูงฝ่ายธุรกิจและไอทีเกือบ 7,000 คนในเอเชีย-แปซิฟิก ชี้การปรับใช้คลาวด์คอมพิวติ้งเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา
       
       วีเอ็มแวร์ อิงค์ มองว่าเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเป็นอย่างมากโดยเฉพาะช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา มีการเติบโตสูงขึ้น 83% โดยประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดไอทีมีการพัฒนาอย่างมากมีอัตราการใช้งานสูงสุด อยู่ที่ 92 เปอร์เซ็นต์ โดยจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 6,953 คนในช่วงเดือนกันยายน ชี้ว่าการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์มีอัตราการขยายตัวรวดเร็วขึ้นใน 7 ตลาดทั่วเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบริษัทขนาดใหญ่
       
       ปัจจุบัน 59 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในระดับภูมิภาคมีการใช้ หรือวางแผนเกี่ยวกับระบบคลาวด์ เปรียบเทียบกับ 45 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 6 เดือนที่แล้ว และ 22 เปอร์เซ็นต์ในปี 2552 องค์กรต่างๆ ในญี่ปุ่นและออสเตรเลียเป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ โดย 36 เปอร์เซ็นต์ และ 31 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ กำลังดำเนินโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีคลาวด์ ส่วนอินเดียและจีนเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ในแง่ของแผนการปรับใช้ โดย 43 เปอร์เซ็นต์ และ 39 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ มีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง
       
       ในแง่ของการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ในภูมิภาคอาเซียน สิงคโปร์ 23% นำหน้ามาเลเซียและไทยเล็กน้อยที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 21% แต่สำหรับองค์กรในประเทศมาเลเซีย 39% และไทย 39% มีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์ในสัดส่วนที่มากกว่าสิงคโปร์ ซึ่งอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์
       
       โดยองค์กรที่มีความรู้ด้านไอที อาทิเช่นผู้ให้บริการโทรคมนาคม และบริษัทเทคโนโลยี เป็นผู้นำในการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ รวมถึงการวางแผนเกี่ยวกับการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคต
       
       ** เทคโนโลยีคลาวด์ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบไอทีในรูปแบบบริการ **
       
       สัดส่วนสูงสุดขององค์กรในญี่ปุ่น (86%), สิงคโปร์ (84%) และไทย (74%) เชื่อมโยงเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งเข้ากับระบบไอทีในรูปแบบบริการ ขณะที่ในออสเตรเลีย มาเลเซีย และอินเดีย บริษัทส่วนใหญ่ (80%, 78% และ 75% ตามลำดับ) เชื่อมโยงเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับแอปพลิเคชันออนดีมานด์ ส่วนในจีน 80%ของผู้ตอบแบบสอบถามมองว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะรองรับการจัดสรรทรัพยากรสตอเรจและเครือข่ายในแบบออนดีมานด์
       
       มร.ไมเคิล บาร์น รองประธานฝ่ายซอฟต์แวร์และการวิจัยในเอเชีย-แปซิฟิกของ Springboard Research กล่าวว่า สำหรับผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิก ไอทีในรูปแบบบริการนับเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด บริษัทเหล่านี้กำลังมองหาผู้ขายและที่ปรึกษาที่สามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อใช้ประโยชน์จากบริการไอทีอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการระบบคลาวด์”
       
       องค์กรส่วนใหญ่ (60 เปอร์เซ็นต์) ต้องการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์เนื่องจากความสามารถในการปรับขนาดตามความต้องการทางธุรกิจ และเหตุผลในอันดับรองลงมาได้แก่ การลดค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานฮาร์ดแวร์ และการเพิ่มความสะดวกในการจัดสรรทรัพยากร/เซิร์ฟเวอร์
       
       การประหยัดค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยระยะสั้นสำหรับการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้งในสัดส่วน 57 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทในเอเชีย-แปซิฟิก และมีเพียง 37 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ได้ปรับใช้หรือมีแผนที่จะปรับใช้ระบบคลาวด์สำหรับการลงทุนในระยะยาว ซึ่งโดยมากแล้วเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีพนักงานมากกว่า 10,000 คน
       
       ** ระบบคลาวด์แบบผสมผสานได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น **
       
       บริษัทที่ต้องการปรับใช้ทั้งระบบคลาวด์สาธารณะ และระบบคลาวด์ส่วนตัวคิดเป็นสัดส่วน 38% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในขณะที่ราว 37% ระบุว่าจะพิจารณาเฉพาะระบบคลาวด์ส่วนตัวเท่านั้น โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจธนาคารและหน่วยงานราชการ โดยระบบพับลิค คลาวด์ยังคงได้รับการต่อต้านเป็นอย่างมาก แม้กระทั่งในญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ให้การตอบรับต่อระบบคลาวด์ดีที่สุดจากการสำรวจในครั้งนี้ ก็ยังมีองค์กรเพียงแค่ 15% เท่านั้นที่ต้องการใช้ระบบพับลิค คลาวด์ในอาเซียน การยอมรับระบบคลาวด์แบบผสมผสานมีสัดส่วนที่สูงกว่า 4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเอเชีย-แปซิฟิก
       
       สตอเรจ (58%) ถือเป็นเวิร์กโหลดอันดับ 1 ในภูมิภาคนี้สำหรับระบบไพรเวท คลาวด์ โดยญี่ปุ่น (62 เปอร์เซ็นต์) และจีน (61 เปอร์เซ็นต์) มีแนวโน้มที่จะปรับใช้สตอเรจบนระบบไพรเวท คลาวด์ ส่วนแอพพลิเคชั่นระดับองค์กรบนระบบคลาวด์ตามมาเป็นอันดับ 2 ที่สัดส่วน 49 เปอร์เซ็นต์
       
       ในแง่ของแผนการปรับใช้ 93 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการปรับใช้ระบบคลาวด์ในอนาคตจะครอบคลุมการประชุมผ่านเว็บ, IM, การทำงานร่วมกัน และอีเมล
       
       มร.แอนดรู ดัทตัน รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและญี่ปุ่นของวีเอ็มแวร์ กล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนว่าแวดวงธุรกิจมีความสนใจเป็นพิเศษในระบบคลาวด์แบบผสมผสาน โดยสิ่งสำคัญก็คือ องค์กรต่างๆ ต้องการที่จะเข้าใช้แพลตฟอร์มโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ รวมถึงรูปแบบการจัดการร่วมกันและบริการแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมโยงระบบไพรเวท คลาวด์และพับลิค คลาวด์เข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอระบบคลาวด์ที่สามารถทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน รองรับการใช้งานข้อมูลและแอพพลิเคชั่นทุกที่ทุกเวลา
       
       ** ความท้าทายสำคัญสำหรับการปรับใช้ระบบคลาวด์คือเรื่องความปลอดภัย **
       
       การผนวกรวมเทคโนโลยีคลาวด์เข้ากับระบบที่ใช้งานอยู่ยังคงถูกขัดขวางด้วยอุปสรรคสำคัญ คือความกังวลใจในเรื่องความปลอดภัย โดย 46% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าความปลอดภัยคืออุปสรรคที่สำคัญที่สุด
       
       ในตลาดใหม่ ปัจจัยหลักที่ยับยั้งขัดขวางการปรับใช้เทคโนโลยีคลาวด์ก็คือ องค์กรต่างๆ ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ จากความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถาม 44 % ในจีน, 40%ในมาเลเซีย และ 40% ในไทย เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยระดับภูมิภาคที่ 36%
       
       ผลลัพธ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่า การใช้โซลูชันคลาวด์ที่อ้างอิงมาตรฐาน และการให้ความรู้ ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะกระตุ้นการปรับใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในเอเชีย-แปซิฟิก
       
       ** เวอชวลไลเซชันคือรากฐานของคลาวด์คอมพิวติ้ง **
       
       องค์กรต่างๆ ในเอเชีย-แปซิฟิก (59%) ระบุว่าโครงสร้างพื้นฐานเวอชวลไลเซชันคือส่วนประกอบสำคัญสำหรับคลาวด์คอมพิวติ้ง
       
       ดัทตันอธิบายถึงความเชื่อมโยงระหว่างเทคโนโลยีทั้งสอง โดยกล่าวว่า เวอร์ชวลไลเซชันช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถแยกแอปพลิเคชันทางธุรกิจและข้อมูลสำคัญๆ ออกจากระบบฮาร์ดแวร์ที่รองรับ และในทางกลับกัน ก็นับเป็นวิธีที่รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับระบบคลาวด์ องค์กรในเอเชีย-แปซิฟิกตระหนักถึงความเป็นจริงข้อนี้กันมากขึ้น และพยายามที่จะใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการลงทุนในเทคโนโลยีเวอชวลไลเซชัน
       
       การปรับใช้เวอชวลไลเซชันในเอเชีย-แปซิฟิกมีอัตราสูงที่สุดในออสเตรเลีย (87%) และญี่ปุ่น (82%) และเมื่อแบ่งตามภาคธุรกิจ จะพบว่ามีการปรับใช้เวอร์ชวลไลเซชันในธุรกิจประกันภัยมากที่สุด (82%) ตามมาด้วยธุรกิจธนาคาร/บริการด้านการเงิน (76%) ประเทศไทย (67%), สิงคโปร์ (65%) และมาเลเซีย (65%) ตามด้วยออสเตรเลียและญี่ปุ่นในเรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน ในขณะที่ความแพร่หลายของเวอร์ชวลไลเซชันในอาเซียนอยู่ที่ประมาณ 30%
       
       บริษัทส่วนใหญ่ในเอเชีย-แปซิฟิกใช้เวอชวลไลเซชั่นสำหรับเซิร์ฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์ โดยหลายๆ องค์กรมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากเวอร์ช่วลไลเซชั่นเพื่อรองรับการรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานและการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติ
       
       โอกาสการเติบโตที่สำคัญที่สุดสำหรับเวอชวลไลเซชันในเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ระบบประมวลผลสำหรับผู้ใช้ แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะระบุว่าเดสก์ท็อปเวอชวลไลเซชันมีความสำคัญน้อยมากต่อภารกิจขององค์กร
       
       อย่างไรก็ดี ผู้ใช้งานอาจได้รับประโยชน์ที่สำคัญจากแนวทางใหม่สำหรับระบบคอมพิวติ้ง ซึ่งมีการทำเวอชวลไลซ์เดสก์ท็อป ด้วยการแยกระบบปฏิบัติการ ข้อมูลส่วนตัว และแอพพลิเคชั่นออกจากกัน ดังนั้นจึงช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการนำเสนอแอพพลิเคชั่นและข้อมูลให้แก่ผู้ใช้ทุกที่ทุกเวลาที่ผู้ใช้ต้องการบนทุกอุปกรณ์
       
       ดัทตัน กล่าวเสริมว่า เดสก์ท็อปเวอร์ชวลไลเซชันรองรับการบริการตนเอง (Self-service) สำหรับผู้ใช้จำนวนมาก และนับเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้องค์กรยุคใหม่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถปรับขนาดได้อย่างเหมาะสม และตอบสนองความต้องการทางธุรกิจได้อย่างฉับไว
       
       Company Related Link :
        VMware

ที่มา: manager.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)