Author Topic: ภาครัฐประกาศสงครามไอที เอาผิดผู้ ละเมิดลิขสิทธิ์  (Read 1322 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Webmaster

  • Nick Computer Services
  • Administrator
  • Full Member
  • *
  • Posts: 168
  • Karma: +999/-0
  • Gender: Male
  • Love Me Love My Services
    • Computer Service

มีเรื่องน่ายินดีเกิดขึ้นอีกครั้ง สำหรับวงการอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ได้ตัดสินให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิตแห่งหนึ่งในจังหวัดอยุธยา ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ที่ศาลฯ ได้พิจารณาว่าจำเลยมีความผิดฐานใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมายในการดำเนินธุรกิจ และการกระทำของจำเลย ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ และเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย

คดีดังกล่าว เริ่มการสืบสวน ตั้งแต่ปี 2549 โดยผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้ยื่นเรื่องฟ้องเป็นคดีแพ่ง ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางในปี 2551 และศาลตัดสินให้บริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิด ได้รับค่าเสียหายเป็นมูลค่าถึง 3.5 ล้านบาท รวมถึงค่าความเสียหายของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิด ค่าเสื่อมเสียชื่อเสียง และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีตามกฎหมาย
 
นายดรุณ ซอว์นีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชีย กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ หรือ บีเอสเอ กล่าวว่า บีเอสเอขอชื่นชมศาลฯ ที่ตัดสินให้จำเลยต้องยุติการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และจ่ายค่าชดเชยให้แก่เจ้าของลิขสิทธิ์ที่แท้จริง เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แท้ ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ เป็นอุปสรรคต่อการจ้างงาน และการเติบโตทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เชื่อว่าคำพิพากษาของศาลฯ ครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบต่อการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่อไป

ผู้อำนวยการฝ่ายปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ ประจำภูมิภาคเอเชีย ของบีเอสเอ กล่าวต่อว่า การดำเนินคดีครั้งนี้ ถือเป็นผลสำเร็จครั้งสำคัญ สำหรับผู้ประดิษฐ์ คิดค้นนวัตกรรม และผู้ประกอบการในไทย เนื่องจากการดำเนินคดีทางแพ่ง จะทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ได้รับประโยชน์ที่เสียไปจากการละเมิดลิขสิทธิ์ นอกเหนือจากการดำเนินคดีทางอาญาเพียงอย่างเดียว จากข้อมูลของสมาคอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (เอทีเอสไอ) คาดว่าในปี 2552 นี้ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของไทย จะมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำลง โดยอาจอยู่ที่ 5% เมื่อเทียบกับ 18-19% ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่วนการละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทยขณะนี้ มีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 78%

นายสมเกียรติ อึงอารี นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวว่า การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อปกป้องนวัตกรม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย โดยเรื่องดังกล่าวนับเป็นเรื่องที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ นั้น ก่อให้เกิดความเสียหายตามมามากมาย อาทิ โอกาสในการจ้างงาน รายได้ การจัดเก็บภาษี รวมถึงเงินรายได้จากจากการค้าซอฟต์แวร์และโปรแกรมที่ใช้ทางธุรกิจ ดังนั้น คำพิพากษาของศาลฯ ที่สั่งให้จำเลยจ่ายค่าเสียหาย นับเป็นการต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ ครั้งสำคัญครั้งหนึ่ง

นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย กล่าวต่อว่า ผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยนั้น เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง จากการศึกษาของไอดีซี ถึงประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะได้รับจากการลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ของปี 2551 พบว่า หากประเทศไทยสามารถลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ บนเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีลงได้ 10% จะส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 2,100 ตำแหน่ง ขณะที่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะขยายตัวอีก 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 35,000 ล้านบาท และภาษีรายได้จะเพิ่มขึ้นอีกกว่า 55 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2,275 ล้านบาท

เช่นเดียวกับการละเมิดลิขสิทธิ์อีกกรณีในจ.เชียงใหม่ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าตรวจค้น 2 บริษัท หลังจากมีการสังเกตการณ์นานกว่า 2 เดือน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) นำกำลังเข้าค้นและตรวจสอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกว่า 76 เครื่อง ของบริษัทดำเนินธุรกิจโรงงานแปรรูปอาหาร 2 แห่ง จากการตรวจค้น พบซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 150 รายการ คิดเป็นมูลค่ารวมสูงถึง 2.5 ล้านบาท

จากความร่วมมือ ระหว่างเจ้าของลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการเพื่อปราบปรามผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ ทั้ง 2 กรณีข้างต้น อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นที่ดีสำหรับเจ้าของความคิดและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ขณะเดียวกัน เปรียบเสมือนสัญญาณเตือนภัย ที่จะคอยเตือนใจให้ผู้ลักลอบและนิยมละเมิดลิขสิทธิ์ได้ตระหนักถึง ทั้งผลเสียที่เกิดขึ้นต่อตนเอง ชื่อเสียง เงินทอง และเวลาในการสอบสวนดำเนินคดี จะสามารถกระตุ้นต่อมควบคุมจิตใต้สำนึกของบุคคลเหล่านั้น ได้มากน้อยเพียงใด

ความฝันสูงสุด ที่เพิ่งจะเริ่มส่อเค้าความจริง ของบรรดาเจ้าของลิขสิทธิ์ทางปัญญาและผู้ประกอบการต่างๆ คงจะเป็นความชัดเจนและจริงจัง ในการดำเนินการทั้งฝ่ายเจ้าของผลงานและเจ้าหน้าที่ในบ้านเมือง ที่คงจะช่วยสร้างกำลังใจให้บรรดาผู้คิดค้น กลับมาตั้งหน้าตั้งตาสร้างสรรค์สิ่งดีๆ เพื่อนำเสนอสู่สังคมต่อไป ส่วนผู้กระทำผิดที่แฝงตัวอยู่ในสังคมทั้งหลาย ไม่รู้ว่ามีตัวอย่างให้เห็นกันถึงขนาดนี้แล้ว จำนวน “เหลือบไอที” ในประเทศไทยจะลดลงบ้างหรือไม่...





 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)