Author Topic: พลเมืองเน็ต ย้ำ พรบ.คอมฯ ทำให้เสรีภาพโลกออนไลน์หายไป  (Read 1181 times)

0 Members and 1 Guest are viewing this topic.

Offline Reporter

  • Moderator
  • Gold Member
  • *
  • Posts: 1093
  • Karma: +8/-0
  • Gender: Male
    • ซ่อมคอมเชียงใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  วานนี้ (28 มี.ค.) เครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้จัดงานเสวนาคุยไปกินไปเรื่อง เสรีภาพโลกออนไลน์ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “เสรีภาพในโลกออนไลน์ ภายใต้ความย้อนแย้งของแนวคิดวัฒนธรรมเสรี VS กรอบเก่าๆของสังคมไทย อะไรคือสิ่งที่เราควรเรียนรู้ ยอมรับและปรับตัว” และมุมมองจากผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไทดอทคอม หลังถูกดำเนินคดี ตามมาตรา 14 ของพรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ที่ห้องประชุม GM Hall อาคารศศนิเวศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต โดยบรรยากาศภายในงานมีผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วย บล็อกเกอร์ ผู้ดูแลเว็บไซต์ สื่อพลเมือง และกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ประมาณ 30 คน

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับหัวข้อ และเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยในการเสวนาครั้งนี้ ได้แก่ เสรีภาพของโลกออนไลน์ ที่ขณะนี้ การนำเสนอเนื้อหาของบล็อกเกอร์ หรือ นักคิดต่างถูกกฎหมายลิขสิทธิ์บีบบังคับไม่อาจต่อยอดผลงาน หรือ เพิ่มเนื้อหาใหม่ลงในเนื้อหาเดิมได้ โดยเห็นว่าตัวกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ ควรมีการปรับแก้ให้สอดคล้องกับความเป็นไปของโลกออนไลน์ ควบคู่ไปกับการรักษาผลประโยชน์ของเจ้าของเนื้อหา หรือชิ้นงานนั้นๆ ด้วย ทั้งนี้ได้มีการยกตัวอย่างรูปแบบงานลิขสิทธิ์ เช่น การพัฒนาโอเพนซอร์สซอฟต์แวร์ และการใช้อนุสัญญาครีเอทีฟคอมมอนส์ เพื่ออ้างอิงที่มาของเนื้อหา เป็นต้น

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ในเวทีเสวนาเครือข่ายพลเมืองเน็ต ได้มีการยกกรณีเปรียบเทียบอิทธิพลของข่าว และเสรีภาพในการนำเสนอข่าวของสื่อพลเมือง และสื่อกระแสหลัก ด้วยการพิจารณาโครงสร้าง หลักการพิจารณาข่าวที่นำเสนอ ขณะที่การเลือกเปิดรับข่าวสารที่มองว่าสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการข่าวเฉพาะด้าน ได้ดีกว่าสื่อโทรทัศน์ หรือเคเบิลทีวี แต่อาจทำให้ผู้คนมีความรู้แคบลง เพราะเลือกรับเฉพาะเนื้อหาที่ตัวเองสนใจ รวมทั้งการพิจารณาว่าเนื้อหาแบบใดไม่ควรถูกนำเสนอผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะอาจละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้รับสาร เช่น การปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศ และการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร  ผู้อำนวยการและผู้ดูแลเว็บบอร์ดของ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท www.prachatai.com และกรรมการ เครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวว่า รัฐบาลยังคงวิตกกับการเสียอำนาจเหนืออธิปไตยของรัฐ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ไม่อาจใช้กฎหมายจัดการบางเว็บไซต์ที่ตั้งอยู่นอกประเทศได้ และตัวคนออนไลน์ยังไม่มีอิสระเสรีภาพที่แท้จริง เนื่องจากตกอยู่ในความหวาดกลัวต่อมาตรการของรัฐ และจารีตประเพณีของสังคมที่สืบเนื่องต่อกันมา กลายเป็นว่าสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนนกที่ติดอยู่ในตาข่าย บนกรงนกขนาดใหญ่ จึงไม่มีทางบินไปไหนได้ จึงเป็นความท้าทายของสังคมออนไลน์ ที่กำลังกลัวการตัดสินจากสังคม หรือ กฎหมายที่ออกมาเพื่อกำกับดูแล เพราะสิ่งเหล่านี้กลับเอื้อประโยชน์ต่อผู้ใช้กฎหมายมากกว่าประชาชนบนโลกออนไลน์ ที่ต้องการเสรีภาพในการนำเสนอเนื้อหา

ด้าน นายกานต์ ยืนยง ผู้อำนวยการเว็บข่าวและบทวิเคราะห์ สยามอินเทลลิเจนท์ดอทคอม (www.siamintelligence.com) และสมาชิกเครือข่ายพลเมืองเน็ต กล่าวถึงการควบคุมสังคมออนไลน์ ด้วย พรบ.ว่าด้วยการประทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ เนื่องจากเห็นว่าการนำเอากฎเกณฑ์ในสังคมปกติมาใช้กบสังคมออนไลน์ จะทำให้สิทธิเสรีภาพของสังคมออนไลน์ถูกปิดกั้นมากกว่าเดิม เพราะ พรบ.ฉบับนี้ มีปัญหาตรงที่นำเอาการควบคุมเนื้อหา ในมาตรา 14 มารวมไว้ด้วยกัน ทั้งที่ความจริงควรแยกออกมาต่างหาก รวมทั้งได้เร่งให้มีการประกาศบังคับใช้ในสมัยรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

ผู้อำนวยการเว็บข่าวและบทวิเคราะห์ สยามอินเทลลิเจน์ดอทคอม กล่าวอีกว่า ส่วนตัวได้ตั้งข้อสังเกตว่า พรบ.ดังกล่าว มีการเร่งออกมาใช้เพื่อเพิ่มดุลย์อำนาจของรัฐบาล แต่ในทางกลับกันประชานไม่ได้มีส่วนร่วมกับกฎหมายฉบับนี้อย่างแท้จริง ขณะที่แนวทางการปฏิบัติตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ ก็ไม่อาจปิดกั้นเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมตามมาตรา 14 ได้แท้จริง รวมถึงการเก็บหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ (Computer Forensic) ที่ยังไม่มีกฎหมายใดออกมารองรับ จะทำให้มั่นใจได้อย่างไรว่า การคัดลอกเนื้อหาของเจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งตามกฎหมาย จะไม่มีการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นความลับอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี 

นายกานต์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ หากเจ้าพนักงานฯ ที่ลักลอบเข้าถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ผู้อื่นๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต เพื่อหาข้อมูลหลักฐาน การปฏิบัติลักษณะนี้เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือไม่ ดังนั้นมีความเห็นว่า อาจต้องมีการปรับเปลี่ยน กฎหมาย พรบ.ว่าด้วยการประทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด  และทำลายบรรยากาศความกลัวที่เกิดขึ้นอยู่ ขณะนี้ บางเรื่องบางประเด็น แม้จะเป็นข้อห้ามทางกฎหมาย แต่การนำเสนอความคิดเห็น หรือการวิเคราะห์ วิจารณ์ จะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมก้าวหน้าได้ หากสังคมออนไลน์ข้ามผ่านข้อจำกัดทางกฎหมายเหล่านี้

ที่มา: thairath.co.th


 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)