บีเอสเอเผยผลวิจัยการหากไทยลดการละเมิดลิขสิทธิ์ใน 2 ปีจะก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจถึง 5.3 หมื่นล้านบาท และช่วยให้เกิดการจ้างงานใหม่ 2,175 ตำแหน่ง รัฐจะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น 2,900 ล้านบาท
นายโรแลนด์ ชาน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) เปิดเผยว่า การลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนพีซี จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและจีดีพีประเทศไทย รวมถึงเพิ่มการจ้างงานใหม่ และยังสามารถช่วยให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ จากผลการศึกษาล่าสุดโดย บีเอสซี และบริษัทวิจัยไอดีซีพบว่า การลดการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในประเทศไทยได้ 10 จุดใน 2 ปีจะสามารถก่อให้เกิดปะโยชน์ทางธุรกิจมูลค่า 51,300 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่กว่า 2,175 ตำแหน่ง และรัฐจะสามารถจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้น 2,900 ล้านบาท
อย่างไรก็ดี หากไทยสารมารถลดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ 10จุดภายใน 4 ปี จะก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจมูลค่า 38,900 ล้านบาท และรัฐจะสามารถจัดเก็บภาษีรายได้เพิ่มขึ้น 2,200 ล้านบาท
ปีที่ผ่านมาประเทศไทยมีการละเมิดซอฟต์แวร์ถึง 75 % ของจำนวนซอฟต์แวร์ ลดจากลดลงจากปี 2551 ที่มีอัตราการละเมิดซอฟต์แวร์ 76 % นอกจากนี้ จากสถิติ 4 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยสามารลดการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ 5 จุด
นายโรแลด์กล่าวว่า ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้ประเทศไทยมีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในอัตราที่สูงอยู่เป็นเพราะที่ผ่านมายังขาดการให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ใช้ทั่วไป หน่วยงานภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องอาศัยระยะเวลาอีกพอสมควร นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาประสานงานกับหน่วยงานภารัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์เพื่อช่วยสนับสนุนวางแนวทางนโยบายที่เป็นกลาง ที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งคือการประเทศไทยยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์ที่ดีอยู่แล้วให้เป็นผลมากเท่าที่ควร และนอกจากการบังคับใช้กฎหมายควรมีมาตราการอื่นๆมาช่วยสนับสนุนให้เห็นผลได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี รัฐบาลไทยไม่ควรสนับสนุนการใช้โอเพ่นซอร์สเพียงอย่างเดียว โดยรัฐบาลควรมีนโยบายที่เป็นกลางสนับสนุนทั้งโอเพ่นซอร์สและการใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิเพราะผู้ใช้ควรมีโอกาสเลือกใช้สิ่งที่เหมาะสมกับความต้องการ
ที่มา: manager.co.th